ปัญหาโรคเอดส์

ปัญหาโรคเอดส์ คุณรู้จัก ‘เอดส์’ ดีแค่ไหน

ปัญหาโรคเอดส์ คุณรู้จัก ‘เอดส์’ ดีแค่ไหน?

“เอดส์เป็นโรคร้ายแรง ใครเป็นโรคนี้ก็ต้องตายลูกเดียว”

“พวกสำส่อนทางเพศเท่านั้นละที่จะติดโรคอันตรายอย่างนี้”

“เอดส์เป็นโรคภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง ใครไม่ดูแลตัวเองดีๆ ก็มีสิทธิตายก่อน”

ปัญหาโรคเอดส์ ไม่ว่าคุณจะรู้จักเอดส์ในแง่มุมไหนก็ตาม คุณอาจจะยังไม่ได้รู้จักมันดีพอในทุกแง่ทุกมุมก็ได้ วันนี้เราจะมาศึกษาถึงโรคร้ายชนิดนี้กัน  ว่าความเป็นจริงแล้วมันร้ายกาจ ‘อย่างที่เราคิด’ หรือร้ายกาจ ‘กว่าที่เราคิด’มากเพียงใด ถ้าพร้อมแล้วตามมาดูไปพร้อมๆกันตอนนี้เลยค่ะ

เอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) คือ กลุ่มอาการ ภูมิคุ้มกันเสื่อม หรือเป็นกลุ่มอาการ ของโรค ที่เกิดขึ้น จากการติดเชื้อไวรัส ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “HIV (Human Immunodeficiency Virus)” ซึ่งเชื้อไวรัสตัวดังกล่าวนี้ จะเข้าไป ทำลายเม็ดเลือดขาว ชนิดที่เรียกว่า CD4 ซึ่งเดิมที จะเป็นเซลล์เม็ดเลือด ที่คอยทำหน้าที่ สั่งให้ระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายต่อสู้ กับเชื้อโรคต่างๆ  เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ให้แก่ร่างกาย และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ถูกทำลายลงไป จนมี จำนวนต่ำกว่า 200 เซลล์ ก็จะส่งผล ให้ร่างกาย ไม่สามารถ ต่อสู้กับเชื้อโรค ต่าง ๆ ได้อีกต่อไป  จึงส่งผล ให้ร่างกาย ติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เชื้อวัณโรค ในปอด เชื้อปอดบวม เชื้อไข้หวัดใหญ่ เกิดเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ จากเชื้อรา หรือเป็น มะเร็งบางชนิด ซึ่งทั้งหมดล้วน แต่เป็นหนทาง ที่นำมาสู่ สาเหตุ ของการเสียชีวิต ในที่สุด

รู้จักเอดส์

ภาพจาก : http://yourbusinesstrader.com/usa-pharmacy/uk166.html

เมื่อร่างกาย ได้รับเชื้อโรค เข้าไปแล้ว เป็นปกติที่ ร่างกายของคนเรา จะพยายาม ต่อสู้กับเชื้อโรค เหล่านั้น ด้วยการสร้างแอนติบอดีขึ้นมา เชื้อเอชไอวี ก็เช่นกัน ทำให้เมื่อเรามีการตรวจร่างกายของคนเหล่านี้ ก็มักจะพบแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคในปริมาณมาก ซึ่งการมีแอนติบอดีในปริมาณมาก ก็แสดงว่าร่างกายของเราได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าไปแล้ว หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  “มีเลือดบวก (HIV-Positive)” นั่นเอง
แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่สัมผัสกับเชื้อเอชไอวี จำเป็นจะต้องติดเชื้อชนิดนี้เสมอไป เพราะก็ต้องขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับ และภูมิต้านทานของผู้สัมผัสในขณะนั้นๆด้วย ซึ่งหากเมื่อใดที่ร่างกายได้รับเชื้อเข้าไปในช่วงเวลาที่กำลังอ่อนแอ  เชื้อเอชไอวีนี้ก็จะค่อยๆคืบคลานข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของเราทีละน้อยๆ ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆ  เมื่อมีเชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรียแปลกๆเข้ามาในร่างกาย เราก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยได้เร็วกว่าปกติ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ร่างกายเคยมี ถูกทำลายหมดสิ้นไปแล้วนั่นเอง และเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายลงอย่างเสียหายย่อยยับ ก็จะเกิดเป็น ‘โรคเอดส์’ ขึ้นมาในที่สุด

และเนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่จำเป็นต้องใช้เวลานานกว่าที่เชื้อไวรัสตัวร้ายจะลงมือเล่นงานทำร้ายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย การแสดงออกของอาการจึงช้ากว่าโรคอื่นๆมาก  อย่างไรก็ตาม วิธีการตรวจโรคสามารถทราบได้จากการตรวจเลือด ซึ่งหากต้องการให้ผลที่แสดงออกมาแม่นยำ ควรจะต้องตรวจเลือดภายหลังจากที่มีพฤติกรรมเสี่ยงประมาณ 6 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ช่วงเวลาที่ยาวนานขนาดนี้ อาจจะทำให้ผู้ป่วยบางรายหลงลืมที่จะไปตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกายตนเอง และปล่อยให้เชื้อไวรัชเอชไอวีค่อยๆกัดกินระบบภูมิคุ้มกันโรคไปทีละนิดๆ จนในที่สุด ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็ล่มสลายลง และเวลานั้นละที่คุณจะต้องเผชิญหน้ากันอาการที่เรียกว่า “เอดส์”

โรคเอดส์ถูกค้นพบมาตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์มีการตรวจพบในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก โดยอาจประมาณได้ว่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่ต้องเสียชีวิตจากโรคร้ายชนิดนี้ไปแล้วไม่ต่ำกว่า  25 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นโรครุนแรงที่คร่าชีวิตผู้คนในอัตราที่สูงสุดโรคหนึ่งในบรรดาโรคร้ายทั้งหมดที่คนบนโลกจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับมัน

ในปัจจุบัน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์นี้ กลายเป็นโรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลก และมีจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้ิอเอชไอวีไปแล้วทั่วโลกมากกว่า 40 ล้านคน สำหรับพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ ในปี 2558 นี้ คาดว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ถึง 61,109 คน เสียชีวิต 3,341 คน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสแล้ว 24,871 คน และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 1,771 คน การเพิ่มจำนวน ขึ้นของผู้ป่วยโรคเอดส์ในปัจจุบันนี้ ถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ทำให้นักวิชาการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเชื้อโรคดังกล่าว พยายามที่จะ หาแนวทาง ในการป้องกัน การขยายปริมาณของจำนวนผู้ป่วย โดยมีจุดประสงค์เพื่อยุติปัญหา โรคเอดส์ ลดปัญหาการติดเชื้อ หรืออัตราการตายของผู้ป่วยโรคดังกล่าวนี้ ส่วนกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่จำเป็นต้องให้ความสนใจมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ก็คือ กลุ่มชายรักชาย กลุ่มภรรยาที่ติดเชื้อจากสามี กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด รวทถึง กลุ่มเด็กและเยาวชน ที่ปัจจุบันอาจถูกสภาพแวดล้อมต่างๆ ยั่วยุให้เกิดปัญหาทางเพศและการใช้สารเสพติดได้ง่ายขึ้น

ปัญหา ที่เคยมีดังกล่าวจะลดลง หากได้รับ ความร่วมมือ จากทางภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทุกคนที่พร้อมจะร่วมมือกัน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อย่างจริงจัง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ประเทศชาติสามารถก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคงสืบไป