เรื่องเด่น
ประโยชน์ 6 อย่าง ที่ได้จากการตรวจเอชไอวี

ประโยชน์ 6 อย่าง ที่ได้จากการตรวจเอชไอวี

ประโยชน์ของการตรวจHIV ทราบ หรือ ไม่คะ ว่าใน ขณะนี้ ประเทศไทย เรามี ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี แล้วประมาณ 500,000 คน

ซึ่ง ในจำนวน ที่กล่าวมานี้ มีผู้ ติดเชื้อ เพียง ครึ่งหนึ่ง หรือ ประมาณ 250,000 รายเท่านั้น ที่ทราบ ผลเลือด และเข้าสู่ ระบบ การรักษา

ทั้งนี้ การ ทราบผล การตรวจ เลือดอย่าง รวดเร็ว และทันท่วงที จะสามารถ ช่วยให้ ผู้ที่ ไม่ติดเชื้อ เกิดความ ตระหนัก ในการ ป้องกันตนเอง

ส่วน ผู้ที่ ติดเชื้อ เอชไอวี ก็ จะป้องกัน ไม่ถ่าย ทอด เชื้อไป ให้ผู้อื่น ขณะเดียวกัน จะได้รับ การรักษา ด้วย ยาต้านไวรัส อย่าง รวดเร็ว

ซึ่ง ปัจจุบัน ผู้ที่ สามารถ มารับ ยารักษา อย่างรวดเร็ว มีโอกาส หายขาด ได้ค่ะ เราขอ เป็นอีก หนึ่งเสียง สำหรับการ รณรงค์ ให้ทุกคน ตรวจเอชไอวี กันนะคะ

เรา มาดู ประโยชน์ของการตรวจHIV กันเลย ดีกว่า

ประโยชน์ 6 อย่าง ที่จะ ได้ จากการ ตรวจเอชไอวี

1.เมื่อ ตรวจแล้ว ทราบว่า ตนเอง ติดเชื้อ เอชไอวี จริง ประโยชน์ อย่างแรกเลย คือ จะ สามารถ เข้ารับ การรักษา ได้ทันที ไม่ต้อง รอให้ แสดงอาการ ซึ่ง จะเป็น ประโยชน์ ต่อการ รักษา อย่างมาก

2.เมื่อ ตรวจพบ แล้ว ก็จะได้ เข้ารับ การรักษา ซึ่ง ประโยชน์ ต่อมา คือ จะทำให้ สามารถ ควบคุมโรค และวางแผนดูแล สุขภาพ ของตน ให้แข็งแรงได้ เมื่อรวม กับการ รักษาด้วย จะทำให้ โรคไม่แสดง อาการ จึงสามารถ ทำงาน ได้อย่าง ปกติ

3.ประโยชน์ ที่สาม เมื่อรู้ สถานะ ผลเลือด ของตน ว่าเป็นบวก คือ ช่วยให้ สามารถ วางแผน ป้องกัน การส่งต่อ เชื้อ ไปสู่คู่ ของตนเอง ไม่ให้ ติดเชื้อได้ และ ทางที่ดี ควรชวน คู่นอน ของคุณ ไปตรวจ เลือด ด้วยเช่นกัน

4.ช่วยให้ สามารถ วางแผนป้องกัน การติดเชื้อ ไปสู่ลูกได้ สำหรับ แม่ตั้งครรภ์ หรือ ผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร จำเป็น อย่างมาก ที่จะต้อง ตรวจเลือดก่อน และหาก มีการติดเชื้อ จะต้องปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้ารับ การรักษา วางแผนป้องกัน เพื่อไม่ให้ ลูกหรือเด็กในครรภ์ปลอดภัย จากการ ติดเชื้อเอชไอวี

5.ในผู้ที่ ผลเลือดปกติ ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี ก็จะช่วยให้ ระมัดระวังตนมากขึ้น สามารถป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีได้

6.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

เราสามารถตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองที่บ้านได้ ด้วยชุดตรวจมาตรฐาน สนใจ คลิ๊ก!!!

เป็นเอดส์แล้วตั้งครรภ์ได้ไหม ควรทำอย่างไร?

คำถามที่น่าสนใจ ขณะกำลังตั้งครรภ์ลูกน้อยอยู่ คุณแม่จะรับมือได้อย่างไรเมื่อรู้ตัวว่า ติดเชื้อ HIV ควรทำอย่างไร จะปฏิบัตตัวอย่างไร ลูกน้อยจะมีโอกาสเสี่ยง และมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ลูกเราจะไม่ติดเชื้อ เรามีข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาฝากค่ะ

คนที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในระยะที่ยังไม่เป็นโรคเอดส์ ( เชื้อเอชไอวี กับ เอดส์ แตกต่างกันนะคะ สามารถอ่านข้อมูล ที่นี่ ) สามารถตั้งครรภ์ได้ค่ะ แต่ก็มีผู้ให้เหตุผลว่า ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้โรคในมารดากำเริบได้ และทารกมีโอกาสที่จะติดเชื้อจากมารดาในอัตราตั้งแต่ 15 – 40% และถ้ามารดาเกิดเป็นโรคเอดส์เสียชีวิตในเวลาต่อมาใครจะดูแลบุตรต่อไปในอนาคต

แต่ถ้าเป็น ระยะที่เป็นโรคเอดส์ แล้ว ไม่ควรตั้งครรภ์อย่างยิ่ง เพราะร่างกายของมารดาจะอ่อนแอมากและมีการติดเชื้อฉวยโอกาสหลายชนิด ซึ่งอาจติดต่อไปถึงทารกในครรภ์ได้ เช่น ไวรัสซีเอ็มวี (CMV-cytomegalovirus) เป็นต้น ที่สำคัญคือ ทารกในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อจากมารดาได้

เป็นเอดส์ ตั้งครรภ์

 

แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ สาขาโรคติดเชื้อในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญโรคเอดส์ในเด็ก อธิบายว่า เมื่อมีการใช้ยาต้านไวรัส HIV ในหญิงตั้งครรภ์ หรือประมาณ 10 ปีมานี้ สถานการณ์ของโรคเอดส์ในเด็กจึงดีขึ้นมาก อัตราการติดเชื้อลดลงด้วยประสิทธิภาพของยา การติดเชื้อ HIV ในหญิงตั้งครรภ์ลดลงจาก ประมาณ 1-2% อยู่ที่ 0.8% ส่วนเด็กเกิดใหม่ที่ติดเชื้อจากปีละประมาณ 2,000 คน  ลดลงอยู่ที่ประมาณ 300-400 คน การกินยาต้านไวรัสอย่างถูกต้องครบถ้วน แม่จะปกป้องลูกจากการติดเชื้อได้ และยังรักษาตนเองให้มีชีวิตยืนยาวปกติได้ด้วย

ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อจะได้รับยาต้านไวรัสเพื่อลดอัตราการติดเชื้อในทารก เมื่อคลอดทารกแล้ว ไม่ควรเลี้ยงด้วยนมของมารดาที่ติดเชื้อ เพราะเชื้ออาจอยู่ในน้ำนมได้ถึงแม้จะไม่มากก็ตาม ซึ่งทารกที่รอดจากการติดเชื้อในครรภ์ และจากระหว่างการคลอดมาได้ อาจจะมาติดเชื้อจากนมมารดาได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นควรเลี้ยงทารกด้วยนมชนิดอื่นที่ไม่ใช่นมจากมารดา

โอกาสลูกติดเชื้อ HIV จากแม่ ขณะคลอด

  • แม่ที่ไม่ได้กินยาต้านไวรัสเลย ลูกมีโอกาสติดเชื้อ 1 ใน 4
  • แม่ที่ได้กินยาต้านไวรัส อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนคลอด ลูกโอกาสติดเชื้อประมาณ 10%
  • แม่ที่กินยาต้านไวรัส มากกว่า 4 สัปดาห์ก่อนคลอด โอกาสที่ลูกจะติดเชื้อเหลือน้อยกว่า 2%

เด็กทุกรายที่ติดเชื้อ HIV ในปัจจุบัน เกิดจาก แม่ไม่ได้ฝากท้อง จึงติดเชื้อขณะคลอด เมื่อคลอดแล้ว มีการตรวจถึงมารู้ว่าตนเองติดเชื้อ แม่จึงหมดโอกาสปกป้องลูกจากการติดเชื้ออย่างน่าเสียดายมาก

“การปกป้องเด็กไม่ให้ติดเชื้อ คือ แม่ต้องกินยาต้านไวรัสตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ ดังนั้นการฝากครรภ์ตั้งแต่ช่วงแรกๆ แม่ท้องจะได้รับการตรวจ รู้เร็ว ได้กินยาเร็ว โอกาสที่ลูกจะติดเชื้อน้อยกว่า 1% หรือจะเรียกว่าแทบจะไม่ติดเชื้อเลยก็ได้ และตัวแม่เองก็มีชีวิตยืนยาวได้ปกติด้วย” คุณหมอกุลกัญญา ชี้ประเด็น

เครดิต: แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ สาขาโรคติดเชื้อในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญโรคเอดส์ในเด็ก

ที่มา : www.amarinbabyandkids.com

การตรวจสุขภาพประจำปีบริษัท ตรวจโรคเอดส์เจอหรือไม่

หลายคนอยากรู้ว่า ถ้าหากเราไปตรวจสุขภาพประจำปี หรือพนักงานที่มีการตรวจสุขภาพของบริษัท เวลาตรวจเลือด แล้วเค้าจะเจอโรคเอดส์หรือเปล่า มีคนจำนวนมากตั้งข้อสงสัยว่าการตรวจหาเชื้อ HIV ก่อนเข้าทำงานสามารถทำได้หรือไม่ เป็นการละเมิดสิทธิจริงหรือ แล้วการห้ามไม่ให้ตรวจหาเชื้อ HIV ก็จะเป็นการละเมิดสิทธิของบริษัทเช่นกันหรือไม่ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันค่ะ

170622025729-0IEk

หลายคนคงรู้ดีว่า การตัดสินใจตรวจหรือไม่ตรวจเอดส์เป็นสิทธิส่วนบุคคล ไม่มีใครบังคับได้ เป็นสิทธิทั้งของผู้ที่รู้ตัวว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวีแล้ว และผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งสิทธินี้มีกฎหมายรับรองไว้ชัดเจน ทั้งในระดับสากล และกฎหมายภายในประเทศ

–  ตรวจสุขภาพ ประจำปี … ไม่มีตรวจเอดส์

–  การตรวจเอดส์ … ต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง

โดยปกติจะไม่บังคับเรื่อง การตรวจเอชไอวี เนื่องจากเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งแล้วแต่คนไข้ค่ะ ว่าจะยอมหรือไม่ยอม เป็นสิทธิ์ของเรา หรือหากบริษัทมีการตรวจสุขภาพประจำปี ก็จะมีบอกว่าตรวจอะไรบ้าง ตรวจหาอะไร แต่ส่วนใหญ่ไม่ตรวจให้ จะเป็นการตรวจสุขภาพทั่วๆ ไปมากกว่า เพราะ ถ้าตรวจเลือดหา hiv ต้องใช้น้ำยาโดยเฉพาะค่ะ และหากจะมีการตรวจจริงๆ ทางพนักงาน หรือ ผู้สมัครเข้าทำงาน จะรู้ก่อนว่าจะตรวจ และเซ็นยินยอมให้ตรวจ จึงจะตรวจได้ จะไม่บอก  ดูดเลือดไปแล้วแอบตรวจนั้นทำไม่ได้ค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

ตรวจเอชไอวีรู้ผลทันที

สธ.เชิญชวนตรวจเอชไอวี รู้ผลภายในวันเดียว

ตรวจเอชไอวีรู้ผลทันที นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาพูด ในงาน “Same Day Results รู้ผลในวันเดียว HIV ตรวจเพื่อก้าวต่อ” ว่า…

“ในทุกวันนี้ มีผู้ติดเชื้อ เอชไอวี ถึง 376,690 ราย และยังมี ผู้ติดเชื้อ เอดส์ อีกมากมาย ที่ไม่รู้ว่า ตนเอง ติดเชื้อแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ยังมี ผู้คน ที่ได้ เข้ามา รับการตรวจ

แต่มีเพียง 64 % เท่านั้น ที่กลับมาฟัง ผลการตรวจ ส่วน 36 % ไม่กลับมาฟังผล มีผล ทำให้ เกิดความ สูญเสียโอกาส ทางการรับฟัง และรักษา”

ทางกรมควบคุมโรค จึงมี การสนับสนุน เรื่อง ของการ ตรวจหาเชื้อเอชไอวี แบบ “Same Day Results” ที่ทำให้ ผู้ป่วย สามารถรู้ ผลตรวจ เลือดภายใน 1 วันเท่านั้น ไม่ต้องรอนาน ส่งผล ให้ผู้ป่วย ไม่เกิด ความเครียด จากการรอฟังผล

นางศิริรัตน์ ลิกานนท์สกุล หัวหน้างานภูมิคุ้มกัน และไวรัสวิทยา สถาบันบำราศนราดูร ได้บอกว่า สำหรับชุด ตรวจเอชไอวี ที่มี ในตอนนี้ สามารถ ทำให้รู้ผล ตรวจภายในวันเดียว ใช้เวลา ไม่นานแค่ไม่กี่นาที เท่านั้น

โดย หากได้รับเชื้อ ไปแล้ว 21 วัน ก็สามารถ ตรวจเจอได้ และได้ผล ที่แม่นยำ สำหรับ ชุดตรวจ ที่ทราบผล เร็วกว่านี้ คือ รับเชื่อไปแค่ 16 วันก็สามารถพบได้ จะสามารถ นำเข้ามาให้ ใช้งานได้ในเร็ววันนี้

อ่านเพิ่มเติม

ระยะเวลา-window-period-คืออะไร

ระยะเวลา window period คืออะไร

ระยะเวลา window period คืออะไร หลายคน ที่กำลัง หาข้อมูล เรื่องการ ตรวจหา เชื้อเอชไอวี อาจจะ เคยพบ หรือผ่านตา กับคำว่า ระยะเวลา window period นะครับ

ซึ่งเจ้าคำ ๆ นี้ มีความ สำคัญ มาก ทีเดียว สำหรับข้อมูล ของการ ตรวจ เรามา ทำความ เข้าใจ แบบง่ายๆ กันนะครับ

ระยะเวลา window period คืออะไร window period อธิบาย แบบง่าย ๆ คือ ช่วงเวลา ที่คุณ ได้รับเชื้อ มาแล้ว แต่ตัว ภูมิคุ้มกัน ของร่ายกาย ( antibody ) ยัง ไม่ขึ้น ถึงระดับ ที่จะ ตรวจหาได้

ทำให้ผลการตรวจออกมา คือ ตรวจไม่พบ หรือ ผลเป็นลบ ซึ่งในทางนี้หมายความได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 คือ ไม่ได้รับการติดเชื้อ

แบบที่ 2 คือ ระยะเวลาที่ตรวจนั้น แอนติบอดี ต่อเชื้อ ไวรัส ยังไม่ เพียงพอ ที่เครื่องมือ จะตรวจพบ (เครื่องมือนั้น มีขีด จำกัด ความสามารถ)

เมื่อ ได้รับเชื้อเอชไอวี ร่างกาย จะสร้าง แอนติบอดี ต่อเชื้อไวรัส ในช่วงเวลา นี้มัก จะใช้เวลา 2 สัปดาห์ – 3 เดือน ( ร่างกาย มีเชื้อแล้ว แต่ภูมิคุ้มกัน ของร่ายกาย เรายัง ตรวจไม่เจอ นั่นเองครับ )

ซึ่ง ในช่วงเวลานี้ ที่เรา ยังไม่ สามารถ ตรวจพบ เชื้อได้ แต่ ร่างกาย ของเรา ก็จัดว่า เป็นพาหะ โรคติดต่อ แล้ว นะครับ

ดังนั้น เรา จำเป็น ต้องรอ ระยะเวลา Window period หลังจาก ที่เลือด จะมี จำนวน เชื้อเอชไอวี เพียงพอ ในแอนติบอดี จึงสามารถ ตรวจพบ ได้ และเรา ก็จะ สามารถ ตรวจพบ เชื้อได้ นั่นเอง

แต่ คนทุกคน ไม่เหมือนกัน บางคน อาจมี ระยะเวลา การตรวจ พบเชื้อ ที่ช้า หรือเร็ว กว่านั้น หลายคน มีการตอบสนอง ของภูมิคุ้มกัน ที่ แตกต่างกัน

ในปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีขึ้นมามากมายเพื่อจำกัดระยะ Window period ให้น้อยลง สามารถตรวจได้ไวขึ้น และมีความแม่นยำขึ้น

เช่น ตรวจด้วย Gen 4 สามารถตรวจได้ ตั้งแต่ 14 วัน หลังรับเชื้อขึ้นไป, ตรวจด้วย Gen 3 สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 21 วัน หลังรับเชื้อขึ้นไป และวิธี NAT สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 7 วัน หลังรับเชื้อขึ้นไป

หาก ตรวจสอบ ออกมาแล้ว ได้ผล เป็นลบ ก็ไม่ สามารถ บอกได้ทันที ว่าไม่มี การติดเชื้อ  ทางที่ดี ควรทำ การตรวจ ซำ้ ในทุกๆ 2 เดือน เพื่อ ความมั่นใจ ครับ

เราสามารถตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองที่บ้านได้ ด้วยชุดตรวจมาตรฐาน สนใจ คลิ๊ก!!!

ตุ่มขึ้นตามตัวติดเชื้อ HIV

มีตุ่มขึ้นตามตัว เราติดเชื้อ HIV หรือเปล่านะ?

ตุ่มขึ้นตามตัวติดเชื้อ HIV ส่วนหนึ่งจากหลายๆ คำถาม ที่รวบรวมจาก facebook.com/TNPplus ของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย หรือหลายคนสงสัยและมีคำถามมากมาย เกี่ยวกับอาการต่างๆ โดยเฉพาะตุ่มที่ขึ้นตามตัว เช่น

“ผมมีตุ่มแดงๆ ขึ้นตามร่างกาย ใช่อาการของคนเป็นเอดส์หรือเปล่าครับ?”

“เพื่อนหนูเค้าท้องเสียค่ะ แล้วก็น้ำหนักลดลง ใช่อาการของเอดส์ไหม แล้วมันติดกันได้รึเปล่า?”

“อาทิตย์ก่อนผมไปตากแดดมา ผมรู้สึกว่าตัวดำขึ้น เกี่ยวกับเอชไอวีไหมครับ แล้วเป็นระยะไหนแล้ว?”

ตุ่มขึ้นตามตัวติดเชื้อ HIV คำถามข้างต้น หรือ คำถามที่ใกล้เคียงนี้ เป็นอาการที่บอกถึงการติดเชื้อเอชไอวีหรือเปล่า วันนี้อยากจะให้ทุกคนมาทำความเข้าใจ “ถูก” ให้กับ “ความเข้าใจผิด” เรื่องเอชไอวีกันดีกว่าครับ

 

การ ติดเชื้อเอชไอวีนั้น ( เชื้อเอชไอวี ต่างกับ เอดส์ อ่านเพิ่มเติมที่นี่ )  จะไม่มี อาการ ที่บอกถึง การติดเชื้อ อย่างชัดแจ้ง เหมือนที่ว่ามา หรือไม่ได้ทำ ให้เราป่วย ในทันที นั่นจึง เป็นที่มา ของคำว่า “ดูไม่ออก บอกไม่ได้ว่าใครติดเชื้อ” เพราะแม้ จะได้รับ เชื้อเอชไอวี มาแล้ว แต่หาก ภูมิต้านทาน ในร่างกาย ของเรา ยังคง มีมากอยู่ เราก็จะมี ร่างกายแข็งแรง เหมือนคนทั่วๆ ไป

อ่านเพิ่มเติม

เอชไอวี คืออะไร

เอชไอวี คืออะไร เรื่องที่ควรเข้าใจ มีเชื้อ HIV ไม่ได้แปลว่าเป็นเอดส์

เอชไอวี คืออะไร ความรู้ เรื่อง โรคเอดส์ ที่ หลายคน เข้าใจ ผิด รู้ หรือไม่ว่า การมีเชื้อ HIV ไม่ได้ แปลว่า เป็นเอดส์

กลายเป็น กระแส อย่างมาก ทั้ง จาก ทางโซเชียล เน็ตเวิร์ก และทาง สื่อต่าง ๆ ที่มี การออก มา เผยแพร่ ข้อมูล ว่า การ มีเชื้อ HIV อยู่กับ ตัว ไม่ได้แปลว่า เราจะ เป็นเอดส์ เสมอไป ซึ่งเป็น ประเด็น ที่ปลุก กระแส และทำ ให้สังคม ต้อง ออกมา เพื่อปรับ ความเข้าใจ อย่างมาก เกี่ยวกับ โรคเอดส์ และเชื้อ HIV

ประเด็น สำคัญ ที่เรา ต้อง ทำความ เข้าใจ ก่อนเลย คือ การมีเชื้อ HIV ในร่างกาย ก็เหมือน กับ การ ที่ ร่างกาย ของเรา มีเชื้อไวรัส ชนิดอื่น ๆ แปลกปลอม เข้ามา โดยเชื้อ เอชไอวี จะตรง เข้าจู่โจม เซลล์ เม็ดเลือดขาว ซึ่ง มีหน้าที่ สำคัญ ในการ กำจัดเชื้อโรค และไวรัส ที่ เข้ามา ในร่างกาย ของเรา เพื่อ รักษา สุขภาพ ของเรา ไม่ให้เกิดอาการ เจ็บป่วย

 

hiv

เอชไอวี คืออะไร หลังจาก ที่เจ้าเชื้อ HIV เข้ามา ใน ร่างกาย ของเรา ได้แล้ว จะทำ ให้เซลล์ เม็ดเลือดขาว มีจำนวนน้อยลง จนเป็น ผล ให้ ความสามารถ ในการ ต่อสู้ กับ เชื้อโรค อื่น ๆ ได้ ยากยิ่งขึ้น เป็นผล ให้ภาวะ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง จนเสี่ยง กับ โรคฉวย โอกาส ที่จะ เข้ามา ทำร้าย ร่างกายเรา ในตอน ที่ภูมิคุ้มกัน ของเรา กำลัง อ่อนแอ

อ่านเพิ่มเติม

ปัญหาโรคเอดส์

ปัญหาโรคเอดส์ คุณรู้จัก ‘เอดส์’ ดีแค่ไหน

ปัญหาโรคเอดส์ คุณรู้จัก ‘เอดส์’ ดีแค่ไหน?

“เอดส์เป็นโรคร้ายแรง ใครเป็นโรคนี้ก็ต้องตายลูกเดียว”

“พวกสำส่อนทางเพศเท่านั้นละที่จะติดโรคอันตรายอย่างนี้”

“เอดส์เป็นโรคภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง ใครไม่ดูแลตัวเองดีๆ ก็มีสิทธิตายก่อน”

ปัญหาโรคเอดส์ ไม่ว่าคุณจะรู้จักเอดส์ในแง่มุมไหนก็ตาม คุณอาจจะยังไม่ได้รู้จักมันดีพอในทุกแง่ทุกมุมก็ได้ วันนี้เราจะมาศึกษาถึงโรคร้ายชนิดนี้กัน  ว่าความเป็นจริงแล้วมันร้ายกาจ ‘อย่างที่เราคิด’ หรือร้ายกาจ ‘กว่าที่เราคิด’มากเพียงใด ถ้าพร้อมแล้วตามมาดูไปพร้อมๆกันตอนนี้เลยค่ะ

เอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) คือ กลุ่มอาการ ภูมิคุ้มกันเสื่อม หรือเป็นกลุ่มอาการ ของโรค ที่เกิดขึ้น จากการติดเชื้อไวรัส ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “HIV (Human Immunodeficiency Virus)” ซึ่งเชื้อไวรัสตัวดังกล่าวนี้ จะเข้าไป ทำลายเม็ดเลือดขาว ชนิดที่เรียกว่า CD4 ซึ่งเดิมที จะเป็นเซลล์เม็ดเลือด ที่คอยทำหน้าที่ สั่งให้ระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายต่อสู้ กับเชื้อโรคต่างๆ  เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ให้แก่ร่างกาย และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ถูกทำลายลงไป จนมี จำนวนต่ำกว่า 200 เซลล์ ก็จะส่งผล ให้ร่างกาย ไม่สามารถ ต่อสู้กับเชื้อโรค ต่าง ๆ ได้อีกต่อไป  จึงส่งผล ให้ร่างกาย ติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เชื้อวัณโรค ในปอด เชื้อปอดบวม เชื้อไข้หวัดใหญ่ เกิดเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ จากเชื้อรา หรือเป็น มะเร็งบางชนิด ซึ่งทั้งหมดล้วน แต่เป็นหนทาง ที่นำมาสู่ สาเหตุ ของการเสียชีวิต ในที่สุด

อ่านเพิ่มเติม

20-คำถามก่อนบริจาคเลือด

20 คำถามก่อนบริจาคเลือด

20 คำถามก่อนบริจาคเลือด แม้ว่าการบริจาคเลือดจะทำให้ผู้บริจาครู้สึกติ อิ่มเอมใจที่ได้ทำกุศล เพราะได้แบ่งปันและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ก็ใช่ว่าทุกๆ คนสามารถไปบริจาคเลือดได้ เพราะว่าการบริจาคเลือดนั้นคุณต้องเสียเลือดในร่างกายจำนวนไม่น้อย ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของคุณเองหลังบริจาคได้เหมือนกัน หรือในทางตรงกันข้ามหากว่าเลือดของคุณไม่สมบูรณ์และอาจมีเชื้อโรคก็อาจทำให้ผู้ที่ได้รับเลือดของคุณติดเชื้อที่อยู่ในเลือดของคุณตามไปด้วย แต่เมื่อมีความตั้งใจจะบริจาคแล้ว มีคำถาม 20 ข้อ ที่คุณต้องตอบตัวเองก่อนว่าสภาพร่างกายของคุณพร้อมแล้ว หรือเลือดของคุณพร้อมที่จะมอบเพื่อต่อชีวิตผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ ดังนี้

บริจาคเลือด

20 คำถามก่อนบริจาคเลือด

1. สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคเลือด อายุระหว่าง 17-60 ปี

2. นอนหลับเพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

3. มีอาการท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วันก่อนบริจาคเลือดหรือไม่ เพราะผู้บริจาคจะอ่อนแอรับประทานไป ส่วนผู้รับเลือดอาจได้รับเชื้อที่มากับเลือดได้ด้วย

4. ใน 3 เดือนที่ผ่านมา มีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ธัยรอยด์เป็นพิษ เครียด วิตกกังวล ก็ไม่ควรบริจาคเลือด

อ่านเพิ่มเติม

เอชไอวีรักษาได้ไหม

เอชไอวีรักษาได้ไหม แพทย์ไทยทำได้โชว์ผลงานวิจัยเด็ดรักษา”เอดส์”หายขาด

เอชไอวีรักษาได้ไหม เมื่อวันที่ 3-6 มีนาคม 2558 มีกระแสข่าวว่า  นักวิจัยจากประเทศไทยได้เผยแพร่ผลงานสร้างความฮือฮาให้แก่สมาชิกในที่ประชุมเป็นอย่างมาก

เนื่องจากเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับ การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรกให้มีโอกาสหายขาดได้ เอชไอวีรักษาได้ไหม

ในการประชุมแพทย์และนักวิจัยเกี่ยวกับโรคเอดส์และโรคติดเชื้อฉวยโอกาสระดับโลก

หรือ “CROI 2013” (The Conference on Retroviruses and Opportunistic Infections) ณ เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา

maxresdefault

 

โดย ศ.นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ระบุว่า การประชุมครั้งนี้มีการเสนองานวิจัยใหม่ๆ จากทั่วโลก

แต่ที่ได้รับความสนใจมีผู้สอบถามข้อมูลมากสุด คือ งานวิจัยของแพทย์หญิงไทยเกี่ยวกับการทดลอง ตรวจเชื้อเอชไอวีแล้วพบในระยะเริ่มแรกไม่เกิน 1 อาทิตย์

หลังจากรับเชื้อแล้วให้กินยาสูตรเบื้องต้นทันที ผลปรากฏว่าแทบจะไม่พบเชื้อหลงเหลืออยู่ในร่างกายหรือพบบางส่วนที่น้อยมาก ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีของผู้ติดเชื้อเอดส์รายใหม่

อ่านเพิ่มเติม